วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556
       วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากช่วงบ่ายมีการจัดงานเกษียณอาจารย์กรรณิการ์ สุขสม และข้าพเจ้าก็ได้ร่วมทำการแสดงโชว์เป็นการรำ ฟ้อนที และเพื่อนอีหนึ่งกลุ่ม เป็นการแสดง

สิ่งที่หาเพิ่มเติม


ไข่เอย...จงนิ่ม



มาเสกไข่ให้นิ่มกันเถอะ
สิ่งที่ต้องใช้

       - แก้ว 1 ใบ
       - น้ำส้มสายชู
       - ไข่ไก่ 1 ฟอง

ขั้นตอนการทดลอง

1. นำไข่ใส่ลงไปในแก้ว
2. เทน้ำส้มสายชูลงไปในแก้วให้ท่วมไข่
3. ทิ้งไว้ 1 คืน อดใจรอพอตอนเช้าเทน้ำส้มสายชูออก แล้วก็ลองจับไข่ที่แช่ไว้ดู

เพราะอะไรกันนะ

       น้ำส้มสายชูมีกรดทำให้กัด หรือละลายแคลเซียมได้ เปลือกไข่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบ เมื่อโดนน้ำส้มสายชูเปลือกไข่จึงนิ่ม เหมือนการที่รับประทานน้ำอัดลมมีกรด จึงสามารถกัดกระเพาะเราได้

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556
       วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยมานำเสนอเป็นการสาธิตการสอนในรูปแบบของตนเอง
       ซึ่งข้าพเจ้าได้เตรียมการทดลองที่มชื่อว่า เป่าลูกโป่งในขวด
       วัสดุ/อุปกรณ์
       - คัตเตอร์
       - ขวดน้ำขนาด 1 ลิตร จำนวน 2 ขวด
       - ลูกโป่งแบบบาง จำนวนแล้วแต่ความสะดวก
       ขั้นตอนการสาธิตการเรียนการสอน
       1. สมมุติฐาน
           - คุณครูถามว่า"เด็กๆเห็นอะไรบนโต๊ะคุณครูบ้าง"
             เด็กตอบว่า เห็นขวดน้ำ เห็นลูกโป่ง และคัตเตอร์ (โดยขั้นตอนนี้การพูดควรเรียงจากซ้ายมือของเด็กๆก่อน)
           - คุณครูถามว่า"เด็กๆคิดว่าสิ่งที่เด็กๆเห็นจะสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง"
              เด็กตอบว่า เอาขวดน้ำไปใส่น้ำ แล้วก็เป่าลูกโป่ง
       2. ทดลอง/สาธิต
           - คุณครูจะนำลูกโป่งใส่ลงไปในขวดน้ำที่เตรียมมา
           - โดยที่ให้ปลายลูกโป่งครอบบริเวณปากขวดน้ำ

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

       ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 แต่ข้าเจ้าได้เปิดดูคลิปเพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น จึงเลือกคลิปนี้เป็นการทดลอง ลูกโป่งโยคี


 
 
 
       การทดลองครั้งแรก ใช้เพียงตะปูดอกเดียวเมื่อนำของที่มีน้ำหนักไปวางจึงทำให้ลูกโป่งแตก แต่เมื่อทดลองครั้งที่สอง เราได้เปลี่ยนให้มีตะปูหลายอันนำลูกโป่งวางบนตะปูแล้วจึงนำหนักสือหลายเล่มวางบนลูกโป่งแต่ลูกโป่งไม่แตก เพราะ เมื่อมีตะปูหลายๆๆดอกเป็นการเพิ่มพีื้นที่กระจายเพิ่มขึ้น ความดันที่ตะปูแต่ละดอกจึงน้อยลง ทำให้เราสามารถกดตะปูที่ลูกโป่งได้มากกว่าเดิม