วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

วันนี้วันจันทร์ที่ 30 กันยยายน 2556
       มีการเรียนการสอนโดบอาจารย์จินตนา สุขสำราญ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาที่ค้างงานการสาธิตต่างๆออกมานำเสนอเทคนิคการสอน อาทิเช่น การทดลอง และของเล่นเข้ามุม(งานกลุ่มกลุ่มละ 3 คน) รวมถึงของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เด็กสามารถประดิษฐ์ขึ้นเองได้
       - ไข่ตกไม่แตก เป็นการทดลอง

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

วันนี้วันที่ 23 กันยายน 2556
       วันนี้อาจารย์ตฤณ ได้ให้นักศึกษากลุ่มที่เพื่อนๆเลือกว่าการทำ Cooking กลุ่มไหนน่าสนใจ ให้เป็นตัวในการสาธิตการสอนการทำ Cooking ซึ่งสรุปออกมาได้ว่าจะทำข้าวผัด
       อันดับแรกเพื่อที่ทำการสาธิตเป็นอาจารย์ ได้ออกมาพูดถึงการวางแผนงานทั้งหมด 3 แผ่น  และพูดตามแผนหารสอน


 
การสาธิตการสอนการทำข้าวผัด
 
คุณครู : วันนี้เด็กๆๆเห็นอะไรบ้างค่ะ?
เด็ก : เด็กตอบจากสิ่งที่เด็กเห็น
วันนี้เด็กๆๆคิดว่า เด็กๆจะประกอบอาหารอะไรกัน

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

 
วันจันทร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556


       วันนี้อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ ได้มอบหมายให้อาจารย์ตฤณ มาร่วมการสอนในวิชา วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซัฃึ่งวันนี้มีการสอนการเขียนแผนการทำ Cooking แล้วแต่ละกลุ่มจะกำหนด เพื่อนๆภายในห้องร่วมกันเขียนแผนมีดังนี้


       - แกงจืดเต้าหู้ หมูสับ
       จะมีแผ่นแรกจะเป็นเสมือนองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับแกงจืดเต้าหู้หมูสับ ซึ่งเพื่อนจะแบ่งเป็นอุปกรณ์ เครื่องปรุง ประโยชน์ หรือสารอาหารที่ได้รับ  ส่วนแผ่นที่สอง เป็นวิธีหรือขั้นตอนการประกอบอาหาร สองแผ่นสุดท้ายจะเป็น การเขียนแผน จากการทำแกงจืดเต้าสหู้หมูสับ และสามารถบอกได้ว่าขั้นตอนใดที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์




       - แซนวิช
จะมีแผ่นแรกจะเป็นเสมือนองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับแซนวิช ซึ่งเพื่อนจะแบ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร ส่วนแผ่นที่สอง เป็นวิธีหรือขั้นตอนการประกอบอาหาร สองแผ่นสุดท้ายจะเป็น การเขียนแผน จากการทำแซนวิช และสามารถบอกได้ว่าขั้นตอนใดที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์  



       - วุ้น
จะมีแผ่นแรกจะเป็นเสมือนองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับวุ้น ซึ่งเพื่อนจะแบ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร ส่วนแผ่นที่สอง เป็นวิธีหรือขั้นตอนการประกอบอาหาร สองแผ่นสุดท้ายจะเป็น การเขียนแผน จากการทำวุ้น และสามารถบอกได้ว่าขั้นตอนใดที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์


       - ข้าวผัด
จะมีแผ่นแรกจะเป็นเสมือนองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับข้าวผัด ซึ่งเพื่อนจะแบ่งเป็นอุปกรณ์ เครื่องปรุง ประโยชน์ หรือสารอาหารที่ได้รับ ส่วนแผ่นที่สอง เป็นวิธีหรือขั้นตอนการประกอบอาหาร สองแผ่นสุดท้ายจะเป็น การเขียนแผน จากการทำข้าวผัด และสามารถบอกได้ว่าขั้นตอนใดที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 







       - ไข่ตุ๋นแฟนซี
       ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้เขียนแผนไข่ตุ๋นแฟนซี แผ่นแรกเขียนเกี่ยวกับข้อมูล หรือความรู้เบื้องต้นต่างๆเกี่ยวกับไข่ตุ๋น ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าแบ่ง หัวข้อเป็น 5 หัวข้อ ดังนี้
       1. รสชาติ
           - หวาน
           - เค็ม
       2. ชนิด
           - ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง                    - ไข่ตุ่นหมูสับ                     - ไข่ตุ๋นต้มยำ
           - ไข่ตุ๋นโบราณ                         - ไข่ตุ๋นญี่ปุ่น
       3. อุปกรณ์
           - ไมโครเวฟ / หม้อนึ่ง               - ทัพพี                                - ช้อน / ส้อม
           - มีด                                          - ถ้วย
       4. วัตถุดิบ
           - ไข่                                          - น้ำเปล่า                            - น้ำมันหอย
           - ซีอิ๋วขาว                                 - ซอสปรุงรส                       - ผักชนิดต่างๆ
           - เนื้อสัตว์
      5. ประโยชน์
           - โปรตีน                                   - วิตามีน                              - ธาตุเหล็ก
           - เกลือแร่                                 - ไขมันจากเนื้อสัตว์             - แคลเซียม
      แผ่นที่ 2 เป็นการเขียนเกี่ยวกับ ขั้นตอนการทำ หรือวิธีการทำ
      แผ่นที่ 3 เป็นการเขียนแผนและให้เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ด้วย คือ
      ประสบการณ์สำคัญ : การตั้งสมมุติฐาน ถ้าไข่โดนความร้อนแล้วจะเป็นอย่างำร?
                                        การสังเกตุ  การเปรียบเทียบ  สังเกตุไข่ว่าก่อนทำมีลักษณะอย่างไร? และหลังจากทำเสร็จแล้วไข่มีการเปลี่ยนแปลงแย่างไร?
                                       




วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556
       วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ผู้สอนติดธุระด่วน

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556
       วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากช่วงบ่ายมีการจัดงานเกษียณอาจารย์กรรณิการ์ สุขสม และข้าพเจ้าก็ได้ร่วมทำการแสดงโชว์เป็นการรำ ฟ้อนที และเพื่อนอีหนึ่งกลุ่ม เป็นการแสดง

สิ่งที่หาเพิ่มเติม


ไข่เอย...จงนิ่ม



มาเสกไข่ให้นิ่มกันเถอะ
สิ่งที่ต้องใช้

       - แก้ว 1 ใบ
       - น้ำส้มสายชู
       - ไข่ไก่ 1 ฟอง

ขั้นตอนการทดลอง

1. นำไข่ใส่ลงไปในแก้ว
2. เทน้ำส้มสายชูลงไปในแก้วให้ท่วมไข่
3. ทิ้งไว้ 1 คืน อดใจรอพอตอนเช้าเทน้ำส้มสายชูออก แล้วก็ลองจับไข่ที่แช่ไว้ดู

เพราะอะไรกันนะ

       น้ำส้มสายชูมีกรดทำให้กัด หรือละลายแคลเซียมได้ เปลือกไข่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบ เมื่อโดนน้ำส้มสายชูเปลือกไข่จึงนิ่ม เหมือนการที่รับประทานน้ำอัดลมมีกรด จึงสามารถกัดกระเพาะเราได้

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556
       วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยมานำเสนอเป็นการสาธิตการสอนในรูปแบบของตนเอง
       ซึ่งข้าพเจ้าได้เตรียมการทดลองที่มชื่อว่า เป่าลูกโป่งในขวด
       วัสดุ/อุปกรณ์
       - คัตเตอร์
       - ขวดน้ำขนาด 1 ลิตร จำนวน 2 ขวด
       - ลูกโป่งแบบบาง จำนวนแล้วแต่ความสะดวก
       ขั้นตอนการสาธิตการเรียนการสอน
       1. สมมุติฐาน
           - คุณครูถามว่า"เด็กๆเห็นอะไรบนโต๊ะคุณครูบ้าง"
             เด็กตอบว่า เห็นขวดน้ำ เห็นลูกโป่ง และคัตเตอร์ (โดยขั้นตอนนี้การพูดควรเรียงจากซ้ายมือของเด็กๆก่อน)
           - คุณครูถามว่า"เด็กๆคิดว่าสิ่งที่เด็กๆเห็นจะสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง"
              เด็กตอบว่า เอาขวดน้ำไปใส่น้ำ แล้วก็เป่าลูกโป่ง
       2. ทดลอง/สาธิต
           - คุณครูจะนำลูกโป่งใส่ลงไปในขวดน้ำที่เตรียมมา
           - โดยที่ให้ปลายลูกโป่งครอบบริเวณปากขวดน้ำ

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

       ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 แต่ข้าเจ้าได้เปิดดูคลิปเพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น จึงเลือกคลิปนี้เป็นการทดลอง ลูกโป่งโยคี


 
 
 
       การทดลองครั้งแรก ใช้เพียงตะปูดอกเดียวเมื่อนำของที่มีน้ำหนักไปวางจึงทำให้ลูกโป่งแตก แต่เมื่อทดลองครั้งที่สอง เราได้เปลี่ยนให้มีตะปูหลายอันนำลูกโป่งวางบนตะปูแล้วจึงนำหนักสือหลายเล่มวางบนลูกโป่งแต่ลูกโป่งไม่แตก เพราะ เมื่อมีตะปูหลายๆๆดอกเป็นการเพิ่มพีื้นที่กระจายเพิ่มขึ้น ความดันที่ตะปูแต่ละดอกจึงน้อยลง ทำให้เราสามารถกดตะปูที่ลูกโป่งได้มากกว่าเดิม


วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

       ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์อนุญาติให้พักเพื่ออ่านหนังสือเตรียมตัวสอบกลางภาคเป็นวันสอบกลางภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556


สิ่งที่หาเพิ่มเติม


        

สิ่งที่ต้องใช้
- ปากกาเก่าๆที่หมึกหมดแล้ว()
- น้ำส้มสายชู หรือ น้ำมะนาว
- กระดาษ
- เทียนไข 


วิธีทดลอง
       นำปากกามาจุ่มลงในน้ำส้มสายชู แล้วเขียนตัวหนังสือลงในกระดาษ ควรเพียนตัวอักษรให้ใหญ่หน่อยเพื่อที่จะได้มองเห็นได้ชัดๆ แล้วทั้งไว้จนกระดาษแห้ง
       วิธีการอ่านข้อความในจดหมายก็คือ นำไปสิ่งกับแสงเทียนตัวหนังสือปริศนาจะปรากฏขึ้นทันที หากกลัวไฟไหม้กระดาษก็สามารถใช้เตารีดมารีดแทนได้ หรือเป่าด้วยเครื่องเป่าก็ได้


เพราะอะไรกันนะ
       ทะไมเวลาที่มะนาวเขียนใส่ลงในกระดาษแล้วนำไปลนไฟตนเกอดเป็นรอยไหม้สีน้ำตาล เนื่องจากน้ำมะนาวที่ถูกความร้อนกับอากาศ จะทำให้น้ำมะนาวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

       วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

       วันนี้อาจารย์ได้มีการเรียนชดเชยเนื่องจากหยุดวันอาสาฬหบูชา ให้เพื่อนที่กลับไปแก้ไขงาน ของเล่นที่เด็กสามารถประดิษฐ์เองได้ ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยให้นักศึกษาบอกขั้นตอนการทำ และให้นักศึกษาในห้องอีกคนทำของเล่นชิ้นนั้นไปพร้อมกัน เพื่อดูว่าเพื่อนสามารถเข้าใจถึงขั้นตอนการทำ และการประดิษฐ์ที่ไม่ยุ่งยากจนเกินไป
เช่น

กังหันลม





       กังหันกระดาษ(Turbine paper) เป็นของเล่นพื้นบ้านของไทยที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม และเสริมสร้างความเข้าใจในหลักกลศาสตร์ ซึ่งมักจะนำมาใช้ในเด็กโต เช่น เด็กประถมศึกษา หรือดดยทั่วไปก็นับจากเด็กอายุประมาณ 2-6 ปี

       อาจารย์ได้นำสื่อของเล่นที่รุ่นพี่ประดิษฐ์มาให้นักศึกษาดู เพื่อเป็นไอเดียให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างงานชิ้นต่อๆไป เช่น ตุ๊กตาตีลัง คือ การที่ตุ๊กตาตีลังได้เพราะ แรงโน้มถ่วงที่ถ่วงโดยวัตถุที่หนัก จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ จึงทำให้ตุ๊กตาตีลังกาได้





วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วัน จันทร์ ที่ 22 กรกฎาคม 2556
       วันนี้เป็นวันอาสาฬหบูชาจึงไม่มีการเรียนการสอน


      วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน   โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่า วันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี

       ทั้งนี้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า  "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปล ว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ 

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วัน จันทร์ ที่ 15 กรกฎาคม 2556
        วันนี้อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ ได้ให้นักศึกษานำของเล่นที่เด็กสามารถประดิษฐ์ได้มานำเสนอซึ่งข้าพเจ้าได้นำเสนอ ไปป์เป่าลม แต่ซ้ำกับเพื่อนจึงต้องหางานไปนำเสนอใหม่

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 8กรกฎาคม พ.ศ. 2556

       วันนี้ได้เรียนเรื่องของ น้ำในร่างกายช่วยปรับสมดุล(อุณหภูมิ)ในร่างกาย มนุษยืจะขาดน้ำได้ไม่เกิน 3 วันแต่ถ้าเป็นสัตว์ เช่น อูฐเป็นสัตว์ที่มีความอดทนสูง สามารถอาศัยอยู่ได้โดยไม่ต้องกินอาหารหรือน้ำเลยประมาณ10วัน ถึง 2 สัปดาห์ เพราะ อูฐมีไขมันสะสมไว้ในหนอกและร่างกายเก็บรักษาน้ำได้เป็นอย่างดี จึงสามารถอยู่ในที่ทุรกันดารเช่น ทะเลได้เป็นอย่างดี กินอาหารประเภทใบไม้ในทะเลทราย
 
       น้ำมีทั้งหมด 3 สถานะ
1. ของแข็ง                    2. ของเหลว                          3. ก๊าซ
 
การเกิดฝน
 

 
 


วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วันที่ 24 มิถุนายน 2556

      อาจารย์จินตนา สุขสำราญ ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกลุ่มล่ะ 6คน
      และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาได้ศึกษาใน VCD เรื่อง สนุกกับ อากาศมหัศจรรย์

 

      อากาศสามารถอยู่ได้ทุกที่มีตัวตนแต่มองไม่เห็น ถึงอากาศจะไม่มีรูปร่างแต่ก็มีน้ำหนัก อากาศตะเบาหรือหนักขึ้นอยู่กับว่าเป็นอากาศร้านหรืออากาศเย็น เช่น การทดลองนำลูกโป่งทั้ง 2 ลูกมาแขวนบนเครื่องชั่งทั้งสองด้าน ลองนำเทียนที่จุดไฟมาไว้ใต้ลูกโป่งใบหนึ่ง ปรากฏว่าลุกโป่งที่โดนความร้อนจากเทียนลอยสูงขึ้นกว่าลูกโป่งอีกใบหนึ่ง แสดงว่า อากาศร้อนจะมีน้ำหนักที่เบากว่า และจะลอยสูงกว่าอากาศเย็น ซึ่งหลักการนี้สามารถนำมาใช้ำด้กับการปล่อยบอลลูน และเป็นการปรับสมดุลที่ทำให้เกิดลม

      การเกิดลม


 
 
แรงดันอากาศ 
 

       แรงดันอากาศ หมายถึง แรงที่อากาศลอยไปกระทบโดนวัตุอีกวัตถุหนึ่ง จนทำให้เกิดแรงดันของอากาศดันวัตถุทึี่มีน้ำหนักไม่มากนักสามารถลอยขึ้นได้

       การทดลองแรงดันอากาศ

           นำกรดาษมา 2แผ่น กระดาษแผ่นหนึ่งให้ขยำาจนเป็นลูกลมๆ ส่วนอีกแผ่นไม่ต้องขยำ แต่ทั้งสองแผ่นต้องมีขนาดที่เท่ากัน ทิ้งกระดาษทั้ง 2 แผ่น ตกลงสู่พื้น จะพบว่า กระดาษที่มีลักษณะกลมจะตกลงสู่พื้นเร็วกว่ากระดาษที่มีลักษณะแบน เพราะ กระดาษที่มีลักษณะแบนจะมีแรงต้านอากาศมากกว่ากระดาษที่มีลักษณะกลม

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

       วันนี้มีการเรียนการสอน และ อาจารย์ได้สั่งงานให้นักศึกษาทำบล็อกวิชา การจัดประสบการณ์ทาง
วิทยาศตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ความรู้เพิ่มเติม

       ข้าพเจ้าจึงไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
       วิทยาศาสตร์ (Science) มาจากภาษาลาตินว่า Scientia” แปลว่า “ความรู้ทั่วไป” ซึ่งเป็นความหมายที่กว้างมากที่ใช้ในอดีต (สุนันท์ บุราณรมย์ และคณะ, 2542 : 2-3) เนื่องจากในอดีตยังไม่มีการค้นพบความรู้มากมายเหมือนในปัจจุบัน  ดังนั้น วิทยาศาสตร์จึงมีความหมายในลักษณะที่ครอบคลุมความรู้ทั้งหมดของมนุษย์  ต่อมาเมื่อมนุษย์มีการค้นพบความรู้มากขึ้นและได้พิสูจน์ความรู้ต่างๆ   สิ่งใดเป็นจริงจะได้รับการยอมรับ ส่วนสิ่งใดไม่จริงก็จะถูกปฏิเสธ  ทำให้ความหมายของคำว่าวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งความหมายของคำว่า วิทยาศาสตร์ ในปัจจุบันมีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน เช่น ภพ เลาหไพบูลย์ (2540: 2)  ได้สรุปความหมายของวิทยาศาสตร์ว่า “วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่สืบค้นหาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
           
สุนันท์ บุราณรมย์ และคณะ (2542 : 2-3) ได้ให้ความหมายไว้ว่า วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ที่แสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง เป็นความจริง ซึ่งความรู้ดังกล่าวได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือจากการทดลอง โดยเริ่มต้นจากการสังเกต การตั้งสมมติฐาน การทดลองอย่างมีแบบแผน แล้วจึงสรุปเป็นทฤษฏีหรือกฎขึ้น แล้วนำแล้วนำทฤษฏีหรือกฎที่ได้ไปใช้ศึกษาหาความรู้ต่อไปเรื่อยๆ
             พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 1075) ได้ให้ความหมายว่า“วิทยาศาสตร์  คือ ความรู้ที่ได้โดยการสังเกต และค้นคว้าจากปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ, วิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ”
             โดยสรุป วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งสามารถแสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง และเป็นความจริง โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ แล้วจัดความรู้นั้นเข้าเป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่